“โลกาภิวัตน์กับการจัดการวัฒนธรรม” โดย อ. ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง

                “โลกาภิวัตน์กับการจัดการวัฒนธรรม” โดย อ. ประภัสสร   โพธิ์ศรีทอง

        ปัจจุบันความรู้ว่าด้วยการจัดการวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ท้าทายคนทํางานวัฒนธรรม ให้ต้องพิจารณาคําว่าวัฒนธรรม ในความหมายที่กว้างมากขึ้นกว่าในอดีต วัฒนธรรมไม่ใช่เรื่องของการสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีเพียงอย่างเดียว และไม่ใช่เป็นเรื่องของการจัดงานประเพณีตามเทศกาลเท่านั้น ยังมีสิ่งต่าง ๆ อีกมากมายที่คนทํางานงานวัฒนธรรมต้องพัฒนาให้เท่าทัน  ก่อนที่จะพูดถึงการจัดการวัฒนธรรม เราอาจจะต้องพูดถึงปัญหาต่าง ๆที่รุมเร้างานวัฒนธรรม จนทําให้เกิดแนวคิดเรื่องการจัดการวัฒนธรรมขึ้น เราลองมาถอดรหัสดูซิว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่ท้าทายงานวัฒนธรรมในปัจจุบัน อะไรบ้างที่ส่งผลกระทบโดยตรง สิ่งเหล่านี้ประกอบด้วย  กระแสโลกาภิวัตน์ หรือ ยุคที่ข้อมูลข่าวสารหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในมุมหนึ่งของโลกส่งผลกระทบถึงส่วนอื่น ๆของโลกได้อย่างรวดเร็ว หรือที่บางคนเรียกว่าโลกไร้พรมแดน เช่น เร็ว ๆ นี้ มีงานที่ยิ่งใหญ่ของโลกเกิดขึ้นและส่งผลกระทบกับคนไทยมาก  นั่นก็คือบอลโลก ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่กีฬาประจําชาติไทยเลย  แต่เวลามีการแข่งขันก็ส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น  เรื่องของการพนัน เกิดการรวมกลุ่มของแฟนบอลทีมชาติต่าง ๆ มีการทายผลฟุตบอล ฯลฯ

images (2)

                โลกาภิวัตน์ส่งผลต่อการเร่งอัตราการเคลื่อนย้ายถ่ายเทวัฒนธรรมโลก จากซีกโลกหนึ่งไปอีกซีกโลกหนึ่ง เป็นการเคลื่อนย้ายถ่ายเท อย่ามองว่าโลกาภิวัตน์ทําให้เรารับกระแสวัฒนธรรมตะวันตกฝ่ายเดียว จริง ๆ แล้วโลกตะวันตกก็รับของเราไป เช่น เขารับเรื่องการดูแลสุขภาพ เอาโยคะ เอาอะไรดี ๆ ของเราไป แล้วผลิตเป็นสื่อต่าง ๆ ที่สร้างกระแสได้แล้วเอากลับมาขายในโลกตะวันออก ทั้ง ๆ ที่ โยคะ มีต้นกําเนิดอยู่ที่อินเดีย ถ้าถามว่าให้คนไทยเรียนโยคะ อาจไม่มีใครสนใจ แต่ถ้าเมื่อไหร่มันไปผ่านกลิ่นไอของขนมปังที่อเมริกาแล้วกลับมา เราจะรู้สึกว่ามันน่าสนใจมากขึ้น ฉะนั้นโลกาภิวัตน์ เองทําให้เกิดกระแสการเคลื่อนย้ายถ่ายเท สิ่งที่เข้ามากับกระแสโลกาภิวัตน์ คือ บริโภคนิยม และวัตถุนิยม ดังจะเห็นได้ว่าเราหลายคนนิยมซื้อของที่มี อาจจะเกินความต้องการ

download (2)   591510cf0

รถยนต์กลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 โทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยที่ 6 มีอะไรเต็มไปหมดทั้ง ๆ ที่ เมื่อก่อนเราอยู่ได้โดยไม่มีวัตถุบางชนิด แต่พอวัฒนธรรมบริโภคนิยม เข้ามา เรารู้สึกว่าอยู่ไม่ได้ เพราะผู้คนรอบข้างเราเปลี่ยนไปหมด เมื่อเพื่อนทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ เราก็ต้องมี ลูกไปโรงเรียนก็เกิดความห่วงใย

อาจจะต้องซื้อโทรศัพท์มือถือให้เกิดเป็นกระแสวัตถุนิยมที่นําไปสู่ประเด็นปัญหาทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น  เช่น ในอดีต เรามองคนและให้ความเคารพคนที่คุณงามความดี ความรู้  ปราชญ์ท้องถิ่นหลาย ๆ ท่าน เรายกย่องท่านอย่างมากในฐานะผู้รู้ หรือ เป็นปูชนียบุคคล ที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคน แต่ภายใต้กระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่เริ่มตัดสินคนจากวัตถุ การแต่งกาย ชื่นชมคนที่มีฐานะ มีบ้านหลังใหญ่ ๆ มากกว่า ซึ่งอาจไม่ใช่กับทุกคน แต่ก็มีกระแสทําให้เกิดความคิดนี้ขึ้นมาท้าทายวัฒนธรรมเดิม ๆ ของเรามากขึ้นทุกทีอีกสิ่งหนึ่ง ที่เห็นกันอยู่ทั่วไป ก็ คือ ความเป็นทาสเทคโนโลยี ทุกวันนี้แทบทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ เพราะคิดว่าคอมพิวเตอร์มีประโยชน์ เช่นเดียวกับที่เมื่อก่อนทุกบ้านต้องมีโทรทัศน์เพื่อรับข่าวสาร แต่เดี๋ยวนี้คอมพิวเตอร์นําพาอะไรต่าง ๆนานา จนเกิดปัญหาเด็กติดเกมส์ การสื่อสารออนไลน์ที่นําไปสู่ปัญหาสังคมอีกมากมาย เพราะการใช้เวลาว่างเปลี่ยนไปจากเดิม อยู่ที่ว่าเด็กเลือกที่จะตามใคร เลือกตามเพื่อน หรือตามที่พ่อแม่ช่วยดูช่วยคัดสรรให้ สื่อก็เป็นสิ่งสําคัญ ที่เข้ามาท้าทายวัฒนธรรมอันดีงามของเรา เราจะเห็นว่าสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือ ต่าง ๆ เป็นแรงจูงใจให้คนทําตาม ถ้าใครอ่านหนังสือหัวนอกที่เราซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศ ได้สร้างกระแสให้ดาราไทย สร้างความโด่งดังให้ตัวเอง โดยเดินตามแฟชั่นดาราฮอลลีวู๊ด

1285344778

 

ถ้ากระแสโลกาภิวัตน์ ผนวกเข้ากับเงินทุนก็ยิ่งสามารถสร้างสินค้าที่ทรงอิทธิพลในการสร้างค่านิยมแบบใหม่ ๆ ให้กับคนมากได้ยิ่งขึ้น เกิดต้นแบบหรือแม่พิมพ์ทางวัฒนธรรมในโลกยุคใหม่ กระแสแฟชั่นกางเกงลีวายส์ในกลุ่มวัยรุ่น ที่ผู้ผลิตสามารถทําเงินได้มากมาย  นี่อาจจะเรียกว่าการสร้างต้นแบบวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาใหม่หรือเปล่า ทําให้คนรุ่นใหม่มีกระแสความนิยมในเรื่องแฟชั่น หรือ รูปแบการใช้ชีวิตที่เหมือนกันไป กระแสบริโภคนิยมที่สร้างค่านิยมให้กับคนรุ่นใหม่ ๆ นี่เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงสําหรับคนทํางานวัฒนธรรม จนเกิดคําว่า เฝ้าระวังขึ้นมา จะเห็นว่ากระทรวงวัฒนธรรมก็เริ่มจะงานในลักษณะนี้แล้ว และในหลาย ๆ ประเทศก็เริ่มต่อต้านกระแสบริโภคนิยมกันมากขึ้น โดยเฉพาะในองค์กรนอกภาคราชการ เพราะว่ารัฐบาลในหลายประเทศไปทําความตกลงอะไรระหว่างกันก็มักจะมุ่งผลทางเศรษฐกิจเป็นหลัก จนลืมผลกระทบทางสังคมและทางวัฒนธรรม หน่วยงานนอกภาคราชการจึงต้องลุกขึ้นมาคัดค้านและขอให้รัฐบาล ต้องตัดสินใจและทบทวนอะไรใหม่ เช่น กรณีให้ทบทวนการเปิดเขตการค้าเสรี ( FTA) กับอเมริกา เป็นต้น กระแสการพยายามปกป้องอัตลักษณ์หรือผลประโยชน์ของชาติเพิ่มมากขึ้น

เกิดเป็นการผลิตสินค้าทางวัฒนธรรมขึ้นมาต่อสู้กับสินค้าวัฒนธรรมจากตะวันตก ที่เห็นได้ชัดเจน คือ ภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ ชุด แดจังกึม ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ

download (3)

เพราะรัฐบาลเกาหลีที่มองเรื่องการพัฒนาประเทศจากรากฐานวัฒนธรรมของตัวเอง ( culture based development ) และพัฒนามาเป็นสินค้าวัฒนธรรมส่งออกไปขายในประเทศแถบเอเชีย และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ในอดีต การพัฒนาทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น กลุ่มประเทศที่มีน้ํามันก็จะรวยได้เร็ว แต่ปัจจุบัน เมื่อทรัพยากรธรรมชาติเริ่มร่อยหลอลง ทรัพยากรทางวัฒนธรรมได้กลายมาเป็นวัตถุดิบสําคัญในการพัฒนาเป็นสินค้าประเทศที่มีทุนทางวัฒนธรรม มีองค์ความรู้ มีเอกลักษณ์ ค่อนข้างเด่นชัด ยาวนาน ก็เริ่มจะพัฒนาสินค้าวัฒนธรรมขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ การสนับสนุนเงินทุนการผลิตสินค้าวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งจําเป็น ประเทศเกาหลีเป็นตัวอย่างที่ดีในการที่รัฐบาลให้ความสําคัญต่อการลงทุนเพื่อพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรม โดยกําหนดนโยบายเรื่องการผลิตสินค้าทางวัฒนธรรมสู่ตลาดเอเชียชัดเจนและให้การสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน เช่น อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมเพลง เกมส์คอมพิวเตอร์ ฯลฯภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ ชุด แดจังกึม ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เพราะรัฐบาลเกาหลีที่มองเรื่องการพัฒนาประเทศจากรากฐานวัฒนธรรมของตัวเอง ( culture based development ) และพัฒนามาเป็นสินค้าวัฒนธรรมส่งออกไปขายในประเทศแถบเอเชีย และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

ประเทศไทยมีทุนทางวัฒนธรรมอยู่มากมาย เช่น อาหารไทย ซึ่งคนทั่วโลกรู้จักประเทศไทยจากอาหารที่มีชื่อเสียง คือ ต้มยํากุ้ง

images (5)

 

เมื่อเราผลิตสินค้าทางวัฒนธรรมใหม่ คือภาพยนตร์ที่ต้องการเปิดตัวสู่ตลาดโลก ก็ตั้งชื่อว่า ต้มยํากุ้ง ทั้ง ๆ ที่ในเรื่องไม่มีต้มยํากุ้ง เพื่อเปิดตัวว่าเป็นภาพยนตร์จากประเทศไทยซึ่งมีฉากต่อสู้ที่เผ็ดร้อนแบบรสชาดต้มยํากุ้ง และศิลปะการต่อสู้ในหนังก็เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่สามารถขายได้ เป็นการนําการตลาดเข้ามาใช้โฆษณา การสร้างสินค้าวัฒนธรรมต้องมีกระบวนการพัฒนาที่ดีเพื่อที่จะตอบสนองกลุ่มเป้าหมายอย่างเหมาะสมการจัดการทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้ทุนทางวัฒนธรรมที่เปรียบเสมือนวัตถุดิบ ถูกนําไปแปรรูปให้เกิดมูลค่าเพิ่มในเรื่องเศรษฐกิจ การนํามาพัฒนาประเทศ และอื่นๆ ได้อีกมากมาย

อีกสิ่งที่เราน่าจะต้องพิจารณา คือ มุมมองเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของคนต่างวัย หรือ มีช่องว่างระหว่างวัยในการมองวัฒนธรรม ในฐานะคนทํางานวัฒนธรรม เราน่าจะต้องคิดว่ามีวิธีไหนบ้าง ที่จะลดช่องว่างในการมองวัฒนธรรมลงได้ และหาวิธีการที่เหมาะสมที่คนต่างวัยสามารถเดินไปด้วยกันอย่างเข้าใจ เพราะช่องว่างที่เห็นในทุกวันนี้ คือ ผู้สูงอายุมักมองไปที่การรักษาวัฒนธรรมแบบเดิม ผู้ใหญ่หลายคนอาจจะมองว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งทีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับของเก่า เป็นแบบแผนอันดีงามที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ไม่สามารถสร้างใหม่ให้ทดแทนของเดิมได้ ต้องพยายามสืบทอดให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทําได้ และคาดหวังว่าคนรุ่นใหม่ควรจะต้องสนใจและช่วยสืบสานวัฒนธรรมแบบเดิม หลายคนมองว่า ของเก่าย่อมดีกว่าของใหม่ และกล่าวหาว่ากระแสวัฒนธรรมตะวันตก เป็นตัวทําลายวัฒนธรรมไทย ทั้งๆ ที่วัฒนธรรมตะวันตกมีกระแสคลื่นที่เข้ามาในสังคมไทยในช่วงเวลาต่างๆ ตั้งแต่อดีต เพียงแต่ว่าความแรงความเร็ว มันจะเปลี่ยนไป แต่ในช่วงเวลาที่เราเป็นวัยรุ่นเราจะเห่อกับสิ่งเร้าใจใหม่ๆ มากกว่าจะสนใจวัฒนธรรมที่ผู้ใหญ่เห็นว่าดีงาม อันนี้ก็เป็นการมองวัฒนธรรมที่ต่างมิติเวลา คนช่วงหนึ่งๆ จะรับอะไรใหม่ๆ เหมือนกัน พอเราอายุมากขึ้นก็อาจจะมองว่าสิ่งที่เรารับมามันเป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่า เด็กรุ่นใหม่ก็มองว่าวัฒนธรรมไทยมีคุณค่า แต่อาจจะดูล้าสมัย ไม่เร้าใจในวัยของเขาที่ต้องการการแสดงออกมาก ๆ เค้าต้องการความสะใจทันใจ เข้าสมัยไม่ตกยุค

สรุปว่า เด็กรุ่นใหม่รู้ว่าของเก่ามีคุณค่าแต่มันไม่น่าสนใจ ในฐานะคนทํางานวัฒนธรรมและอยู่ในแวดวงวัฒนธรรม เราอาจจะต้องมองหาแนวทางที่จะทําให้ช่องว่างทางความคิดแบบนี้ลดลง

ในงานวัฒนธรรมปัจจุบันเราอาจจะไม่ได้มองเรื่องข้อมูลทางวัฒนธรรมหรือการสืบทอดทางวัฒนธรรมเพียงอย่างเดียว แต่มีคําใหม่ๆ ที่ผุดขึ้นมาให้เราได้ยินอยู่เสมอๆ เช่น คําว่า ทุนวัฒนธรรม หรือ สินค้าทางวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ฯลฯ วัฒนธรรมมีความหลากหลาย และมีองค์ความรู้มากมายที่อยู่ในงานวัฒนธรรมที่สามารถพัฒนามาเป็นทุนวัฒนธรรมได้ ซึ่งในแง่ของการจัดการนั้นทุนวัฒนธรรมอาจ  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท  คือ

ประเภทแรก คือ ทุนที่เป็นวัตถุ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ งานหัตถกรรม เราจะเห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่แล้ว อย่างโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่มีคุณค่าระดับชาติ ก็อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร แต่ขณะเดียวกันก็มีโบราณวัตถุอีกมากมายที่อยู่ในความครอบครองของวัด  ชุมชน โรงเรียน  สถาบันการศึกษาสิ่งเหล่านี้เป็นทุนทางวัตถุที่
สามารถนํามาใช้พัฒนาเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมได้

download (4)

          ประเภทที่สอง คือ ทุนภูมิปัญญา ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในวัตถุ หรือ เทคโนโลยีด้านต่างๆ มากมาย ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้และถ่ายทอดระหว่างกัน ซึ่งบางครั้งเรานึกไม่ออกว่ามันเป็นทุนจริงๆ จนกระทั่งมีคนเอาภูมิปัญญาของเราไปใช้ประโยชน์ เช่น กรณีที่ญี่ปุ่นไปจดลิขสิทธิ์ ฤาษีดัดตน ซึ่งเป็นทุนภูมิปัญญาของเรา ที่ญี่ปุ่นนําไปอ้างสิทธิ์ว่าเป็นทุนวัฒนธรรมของเขา เกิดเป็นปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ตามมา เมื่อก่อนเราอาจมองว่าวัฒนธรรมเป็นอะไรที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของมันเป็นของร่วมกันใครจะเอาไปศึกษาเผยแพร่ก็ไม่มีปัญหา แต่พอนําวัฒนธรรมมามาใช้เป็นสินค้า จึงเริ่มมีการมองว่าต้องมีลิขสิทธิ์แสดงความเป็นเจ้าของ เพื่อป้องกันการแสวงกําไรที่ไม่มีการคืนผลประโยชน์ให้เจ้าของที่แท้จริง การเก็บข้อมูลจึงเป็นสิ่งสําคัญ เราต้องมีหลักฐานยืนยันว่าเป็นมรดกที่เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย เราจึงจะสามารถเรียกร้องสิทธิ์คืนมาได้ ถ้าอยู่ดีๆ ญี่ปุ่นเอาไปจดลิขสิทธิ์แล้วเราไม่มีหลักฐานข้อมูลรวบรวมเอาไว้เลย เราก็คงไม่มีหลักฐานที่ไปบอกได้ว่าภูมิปัญญานี้เป็นของเรา

ข้อมูลวัฒนธรรมมีหลายรูปแบบ หลายเรื่องราว เมื่อเราไปเก็บข้อมูลภาคสนามมาแล้ว เรานํามาใช้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ข้อมูลเหล่านี้เป็นทุนทางวัฒนธรรมด้านไหนบ้าง หลายครั้งที่วัฒนธรรมที่เรารวบรวมหรือศึกษาวิจัยถูกเก็บไว้ในสํานักงาน โดยขาดการต่อยอดที่เกิดประโยชน์ เพราะขาดการจัดการข้อมูลลองถามตัวเองว่า บันทึกหรือภาพถ่ายที่เราเก็บข้อมูลภาคสนามมีการนํามาจัดระบบที่ดีพอหรือไม่เพราะทุกอย่างที่เราลงไปเก็บข้อมูล มันก็จะหายไปกับกาลเวลา บางคนที่เราสัมภาษณ์วันนี้ พรุ่งนี้เขาอาจจะไม่อยู่ให้เราสัมภาษณ์ แล้วข้อมูลที่เราได้จากเขาเป็นภูมิปัญญาและองค์ความรู้ มากมาย รูปถ่ายที่เราถ่ายมา เรามีการจัดการระบบหรือยัง ทุกวันนี้เราถ่ายรูปไปแล้วแต่ไม่ได้จัดระบบข้อมูล พอเราย้ายแผนก ย้ายฝ่าย ข้อมูลรูปก็ไม่มีใครอ่านเลย ไม่มีใครบอกได้ว่าถ่ายมาจากที่ไหน เมื่อไหร่ ภาพถ่ายที่เก็บไว้โดยไม่มีข้อมูลประกอบก็ไม่เกิดประโยชน์ ปัญหาที่พบอยู่บ่อยๆ ในหน่วยงานวิชาการหลายแห่ง ก็คือ บางทีเราเจอรูปถ่ายเก่าที่น่าสนใจมาก แต่ไม่มีใครรู้รายละเอียด ต้องมาสืบค้นกันใหม่ในฐานะคนทํางานวัฒนธรรมและเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรมเราต้องถามตัวเองก่อนว่า เราจัดการข้อมูลที่เรามีซึ่งเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นประโยชน์ดีพอหรือยังเพราะข้อมูลเหล่านี้สามารถนําไปพัฒนาเป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ เช่น พิมพ์เผยแพร่ หรือ ผลิตเป็นซีดี และทําอะไรได้อีกมากมาย เอกชนหลายแห่งที่จัดทําศูนย์ข้อมูลที่นํารายได้มาสู่องค์กรได้ เช่น ศูนย์ข้อมูลภาพถ่ายของมติชน ที่ถ้าเราอยากได้ภาพถ่ายของเขา เราต้องเสียสตางค์ให้เขา เป็นธนาคารภาพที่ขายได้ ส่วนการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเสียงก็มีตัวอย่าง เช่น สถาบันสมิธโซเนียน ของอเมริกาที่เก็บข้อมูลเสียงเพลงดนตรีพื้นบ้านจากทั่วโลกแล้วให้บริการแก่คนทั่วไป โดยเขาจัดส่งเจ้าหน้าที่มาบันทึกเสียงดนตรีพื้นบ้านทั่วโลก เสร็จแล้วก็เอาไปใส่ใน อินเตอร์เน็ต ใครจะดาวน์โหลดก็ได้ต้องเสีย 95 เซนต์ หรือประมาณ 30 กว่าบาทต่อเพลง แต่มีการแบ่งผลประโยชน์ให้กับเจ้าของเพลง สถาบันได้ค่าจัดการส่วนหนึ่ง เขาทําแบบไม่หวังผลกําไร แต่เป็นการอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านที่กําลังจะหายไป  ข้อมูลที่เรามีอยู่มากมาย มีแฟ้มจดบันทึกภาพถ่าย ม้วนวีดีโอเต็มไปหมดเลย ไม่รู้จะพัฒนาระบบข้อมูลยังไง ก่อนอื่นเราต้องนํามาสู่กระบวนการคัดสรรว่า เราจะพัฒนาข้อมูลเป็นอะไร เช่น ถ้าเราจะทําเป็นหนังสือเราอาจจะต้องกําหนดหัวข้อเรื่อง และกรอบเรื่อง แล้วจัดข้อมูลที่มีลงไปตามหัวข้อนั้นๆ หรือ หากจะทําเป็นแผนที่แหล่งที่ตั้งก็ได้ เช่น แผนที่แหล่งหัตถกรรมประเภทต่างๆ โดยกําหนดการกระจายตัวของแหล่ง ก็จะช่วยให้คนที่ใช้แผนที่นําไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น

ข้อมูลวัฒนธรรมจําเป็นจะต้องมีการพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ ในรุ่นเราเราอาจจะคัดสรรเรื่องราวนํามาถ่ายทอดเป็นสื่อต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง แต่ข้อมูลเหล่านี้นี้จะเป็นประโยชน์กับคนรุ่นต่อไป และเมื่อนําไปต่อยอดกับองค์ความรู้ด้านอื่นๆ ก็จะมีการเชื่อมต่อให้เกิดภาพรวมขององค์ความรู้ ที่เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ แต่ก่อนอื่นเราต้องถามตัวเองว่า ข้อมูลที่เรามีอยู่ได้มีการคัดสรรแล้วหรือยัง ถ้ายัง ก็เป็นที่น่าเสียดายที่เราเก็บทุนทางวัฒนธรรมโดยไม่ทําให้เกิดประโยชน์ และก็จะสูญหายไปกับตัวเรา คนรุ่นใหม่ไม่สามารถหาข้อมูลที่เพิ่มเติมได้ นอกจากห้องสมุด บางที่ในห้องสมุดก็ต้องยอมรับว่าไม่มีเรื่องที่ลึกซึ้ง ความรู้หลายอย่างด้านวัฒนธรรมมีอยู่ในตัวบุคคล จึงอยากให้ทุกท่านเริ่มเขียนหนังสือ อย่าไปคิดว่าจะเขียนได้ไม่ดี

วัฒนธรรมไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

วัฒนธรรมไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

        วัฒนธรรมเป็นสิ่งสําคัญของคนไทยในการดําเนินชีวิตประจําวันของมนุษย์ที่ถูกกําหนดขึ้นในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตรกรรม  สถาปัตยกรรม ความคิด ความเชื่อ ความรู้ ที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม  ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี ความกลมเกลียว  ความก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน

images (3)

วัฒนธรรมของประเทศไทย

ก็มีความเหมือนกันและแตกต่างกันบ้างตามแต่ละพื้นที่หรือแต่ละภาคของประเทศไทย รวมทั้งการสืบทอดหรืออาจมีการดัดแปลงบ้าง เพื่อให้มีเหมาะสมกับความเป็นสมัยนิยมมากขึ้น เช่น วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย ด้านภาษา ด้านอาหาร และวัฒนธรรมอื่นๆ อีกมากมาย เพราะใช้เฉพาะกันในชุมชน หมู่บ้านของแต่ละท้องถิ่น  การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558  ไม่ได้มีความสําคัญเฉพาะการรวมตัวกันของกลุ่มสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ในด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน เป็นหลักเท่านั้นสิ่งสําคัญที่ประชาชนชาวไทยไม่ควรมองข้ามหรือละเลยไปก็คือ

global_ling_md

     วัฒนธรรมของประเทศไทย ที่ปัจจุบันเริ่มจะสูญหายไปจากสังคมไทยอย่างไม่รู้ตัวที่เห็นเป็นเอกลักษณ์เด่นชัด คือ ด้านการแต่งกายที่ใช้ผ้าไทยทําจากผ้าไหม ผ้าทอมือต่างๆ หรือผ้าขาวม้าซึ่งยังพอมีอยู่บ้างโดยส่วนใหญ่จะพบในวัยผู้สูงอายุหรือผู้ที่ทํางานในภาคราชการ หรือองค์กรบางแห่งเท่านั้น ส่วนด้านอาหารประเทศไทยเรามีไม่น้อยหน้าประเทศใดๆและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ได้แก่ ต้มยํากุ้ง ผัดไทย, สําหรับด้านภาษาประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเองมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะแตกต่างไปบ้างตามแต่ละภาค แต่ภาษากลางก็คือ “ภาษาไทย” ประชาชนคนไทยไม่ว่าจะอยู่ในจังหวัดใด ภาคไหนของประเทศไทยก็สามารถสื่อสารเข้าใจกันได้วัฒนธรรมของประเทศไทยเป็นเอกลักษณ์ที่เราในฐานะที่เป็นประชาชนชาวไทย ไม่ว่าจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนหรือไม่เราก็ควรจะช่วยกันรักษา นอกจากวัฒนธรรมที่กล่าวข้างต้นแล้ว

ยังมีวัฒนธรรมด้านอื่น ๆ อีก อาทิ ขนบธรรมเนียม ประเพณี กิริยามารยาท เช่น ปัจจุบันเราจะพบว่าประชาชนชาวไทย หรือเยาวชนไทยไม่เข้าใจในภาษาไทย หรือใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องใช้ผิดใช้ถูก เช่น คําว่า ขอโทษ ขอบใจ ขอบคุณ มักใช้กันสับสนคําเหล่านี้ถึงแม้จะขึ้นต้นด้วย ขอไข่ เหมือนกันแต่ก็มีการใช้ที่แตกต่างกัน

ได้แก่

1. ขอโทษ ใช้ได้ทั้งวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ ในกรณีที่กระทําผิดเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นการกระทําทางกาย วาจา หรือใจกับบุคคลอื่นโดยไม่ตั้งใจหรือตั้งใจแล้วรู้สึกว่าผิด ไม่ถูกต้อง ให้ใช้คําว่า “ขอโทษ”

child5

2. ขอบใจ ใช้กรณีผู้ที่มีอายุมากกว่าพูดกับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า เช่นใช้เด็กหยิบของให้ ก็ใช้คําว่า “ขอบใจ” ไม่ใช่ขอบคุณ

และ 3. ขอบคุณ ใช้สําหรับผู้ที่อายุน้อยกว่ากล่าวขอบคุณผู้ที่อายุมากกว่า ที่ให้ความเมตตา ให้ความช่วยเหลือ ให้คําแนะนําที่เป็นประโยชน์หรือมอบสิ่งดีๆ ให้ ก็จะใช้คําว่า “ขอบคุณ” ฯลฯ และยังมีคําอื่นๆ ในภาษาไทยอีกมากมายที่ใช้กันผิดเสมอภาษาไทยเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน ชาวต่างชาติหลายๆ คน เข้ามาเรียนภาษาไทย สามารถพูดภาษาไทยได้ชัดเจน แต่คนไทยเอง กลับไม่เข้าใจ และใช้สับสนกันจนเป็นความเคยชิน ยิ่งแย่ไปกว่านั้น บางคนพูดไทยคําภาษาต่างชาติคําเนื่องจากรสนิยมหรือค่านิยมอะไรก็แล้วแต่แต่ไม่ควรลืมพื้นฐานของความเป็นไทย

ดังนั้นก่อนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนชาวไทยทุกคนต้องช่วยกันส่งเสริมวัฒนธรรมของไทยให้ชาวต่างชาติได้รับรู้และเข้าใจ ไม่ควรให้ชาติต่าง ๆเข้ามามีอิทธิพลมากเกินไป ไม่มีข้อยกเว้นว่าจะเป็นวัฒนธรรมด้านใดเพราะวันหนึ่งเราจะถูกซึมซับวัฒนธรรมจากต่างชาติจนอาจไม่เหลือวัฒนธรรมไทยหรือมีอะไรให้จดจําอีกเลยวันนี้ยังไม่สายหรือช้าเกินไปที่เราจะร่วมมือกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย  ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้ประเทศกลุ่มสมาชิกได้รับรู้ เข้าใจและยอมรับประเทศไทย และอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานไทย

ในปัจจุบันได้ตระหนักและมองถึงอนาคต โดยไม่ลุ่มหลงไปกับวัฒนธรรมต่างชาติจนลืมถึงวัฒนธรรมไทยที่บรรพบุรุษที่รักษาด้วยชีวิตไว้ให้ลูกหลานไทยได้พูดถึงประเทศไทยอย่างเต็มความภาคภูมิใจ มาช่วยกัน ร่วมมือกัน ส่งเสริมความเอกลักษณ์ไทยให้คงอยู่ตลอดไป ไม่ใช่เพียงคําว่า “สวัสดีค่ะ”  กับ “สวัสดีครับ” หรือเพียงแค่ “รอยยิ้ม” ของประชาชนชาวไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเท่านั้น

ชุดไทยพระราชนิยม เอกลักษณ์ความเป็นไทย

ชุดไทยพระราชนิยม

         “ชุดไทยพระราชนิยม” มี 8 ชุด คือ ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยจักรี ชุดไทยดุสิต ชุดไทยจักรพรรดิ์ และชุดไทยศิวาลัย ชุดไทยพระราชนิยมเหล่านี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใช้ในโอกาส และสถานที่ต่าง ๆ จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายและชื่นชมกันทั่วไป ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ

ชุดประจำชาติ ของไทย

ชุดไทยเรือนต้น

ชุดไทยจิตรลดา

ชุดไทยอมรินทร์

ชุดไทยบรมพิมาน

ชุดไทยจักรี

ชุดไทยจักรพรรดิ

ชุดไทยดุสิต

ชุดไทยศิวาลัย

“ชุดไทยพระราขนิยม” โดยองค์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงพระราชทานให้เป็น “ชุดแต่งกายประชาติของสตรีไทย” มีรููปแบบสวยงามโดดเด่นอย่างมีเอกลักษณ์ของชุดสาวไทย

1.ชุดไทยเรือนต้น

เสื้อ แขน กระบอก นุ่งกับ ผ้าซิ่น ทอลาย ขวาง ใช้ได้ ในหลาย โอกาส เช่น เป็น ชุดเช้า ไว้ใส่ บาตร ไปวัด หรือ ไปงาน มงคล ต่าง ๆ

ชุดไทยเรือนต้น คือ ชุดไทยแบบลำลอง ใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมมีลายริ้วตามขวางหรือตามยาว หรือใช้ผ้าเกลี้ยงมีเชิงตัวซิ่นยาวจรดข้อเท้าป้ายหน้า เสื้อใช้ผ้าสีตามริ้วหรือเชิงสีจะตัดกับซิ่นหรือเป็นสีเดียวกันก็ได้เสื้อคนละท่อนกับซิ่น แขนสามสวนกว้างพอสบาย ผ่าอก ดุมห้าเม็ด คอกลมตื้น ๆ ไม่มีขอบตั้ง เหมาะไช้แต่งไปในงานที่ไม่เป็นพิธีและต้องการความสบายเช่น ไปงานกฐินต้นหรือเที่ยวเรือ เที่ยวน้ำตก

 ชุดไทยเรือนต้น

2.ชุดไทยจิตรลดา

ชุดไทยจิตรลดา คือ ชุดไทยพิธีกลางวัน ใช้ผ้าไหมเกลี้ยงมีเชิงหรือ เป็นยกดอกหรือตัวก็ได้ ตัดแบบเสื้อกับซิ่น ซิ่น ยาวป้ายหน้าอย่างแบบลำลอง เสื้อแขนยาว ผ่าอก คอกลม มีขอบตั้งน้อย ๆ ใช้ในงานที่ผู้ชายแต่งแต็มยศ เช่น รับประมุขที่มาเยือนอย่างเป็นทางการที่สนามบิน ผู้แต่งไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่เนื้อผ้าควรงดงามให้เหมาะสมโอกาส

เสื้อ แขน กระบอก นุ่งกับ ผ้าซิ่น ทอลาย ขวาง ใช้ได้ ในหลาย โอกาส เช่น เป็น ชุดเช้า ไว้ใส่ บาตร ไปวัด หรือ ไปงาน มงคล ต่าง ๆ

จิตรลดา

 

 

3.ชุดไทยอมรินทร์

ชุดไทยอมรินทร์ คือ ชุดพิธีตอนค่ำ ใช้ยกไหมที่มีทองแกมหรือยกทองทั้งตัว เสื้อกับซิ่นแบบนี้อนุโลมให้ สำหรับผู้ไม่ประสงค์คาดเข็มขัด ผู้มีอายุจะใช้คอกลมกว้าง ๆ ไม่มีขอบตั้งและแขนสามส่วนก็ได้ เพราะความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้า และเครื่องประดับที่จะใช้ให้เหมาะสมกับงานเลี้ยงรับรอง ไปดูละครในตอนค่ำและเฉพาะในงานพระราชพิธีสวนสนามในวันเฉลิมพระชนมพรรษาผู้แต่งชุดไทยอมรินทร์ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เสื้อ แขน ยาว คอกลม ตั้ง ติดคอ นุ่งกับ ผ้าซิ่น ไหม ยกทอง ตัดแบบ ซิ่นป้าย สำหรับ แต่งใน งานพิธี ใช้ได้ ในหลาย โอกาส

จิตรลดา

 

4.ชุดไทยบรมพิมาน

ชุดไทยบรมพิมาน คือ ชุดไทยพิธีตอนค่ำที่ใช้เข็มขัดใช้ผ้าไหมยกดอกหรือยกทองมีเชิงหรือยกทั้งตัวก็ได้ ตัวเสื้อและซิ่นตัดแบบติดกัน ซิ่นมีจีบข้างหน้าและมีชายพก ใช้เข็มขัดไทยคาดตัวเสื้อแขนยาว คอกลม มีขอบตั้ง ผ่าด้านหลัง หรือด้านหน้าก็ได้ ผ้าจีบยาวจรดข้อเท้า แบบนี้เหมาะสำหรับผู้มีรูปร่างสูงบาง สำหรับใช้ในงานเต็มยศและครึ่งยศ เช่นงานอุทยานสโมสรหรืองานพระราชทานเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการในคืนที่มีอากาศเย็น ใช้เครื่องประดับสวยงามตามสมควรผู้แต่งประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เสื้อ เข้ารูป แขน กระบอก คอตั้ง ติดคอ ผ่าหลัง อาจจะ เย็บติด กับ ผ้านุ่ง ก็ได้ หรือ แยกเป็น คนละ ท่อน ก็ได้ เช่นกัน ส่วน ผ้านุ่ง ใช้ ผ้าซิ่น ไหม ยกดิ้น ทอง ตัดแบบ หน้านาง มีชายพก สำหรับ แต่งใน งาน ราชพิธี หรือ ในงาน เต็มยศ หรือ ครึ่งยศ เช่น งานฉลอง สมรส พิธีหลั่ง น้ำ พระ พุทธมนต์

 boromphiman-thai-wedding-dress-2

5.ชุดไทยจักรี

เสื้อตัวในไม่มีแขน ไม่มีคอ ห่มทับด้วยสไบ แบบมีชายเดียว ปักดิ้นทอง ชุดไทยจักรี เดิมจะไม่ปัก นุ่งทับด้วยผ้าซิ่นไหม ยกดิ้นทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด เครื่องประดับ สร้อยคอ รัดแขน สร้อยข้อมือ สำหรับ แต่งในงาน เลี้ยงฉลองสมรส หรือ ราตรีสโมสรที่ไม่เป็นทางการ

ชุดไทยจักรี คือชุดไทยประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน

thainiyom-10

 

6.ชุดไทยจักรพรรดิ

ชุดไทยจักรพรรดิ คือ ชุดไทยห่มสไบคล้ายไทยจักรี แต่ว่ามีลักษณะเป็นพิธีรีตรองมากกว่า ท่อนบนมีสไบจีบรองสไบทึบ ปักเต็มยศบนสไบชั้นนอก ตกแต่งด้วยเครื่องประดับอย่างสวยงาม ใช้สวมในพระราชพิธีหรืองานพิธีต่าง ๆ ที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติ

ผ้าซิ่น ไหม ยกดิ้น ทอง มีเชิง สีทอง ตัดแบบ หน้านาง มี ชายพก ห่มด้วย สไบ ปัก ลูกปัด สีทอง เป็นเครื่อง แต่งกาย สตรี สูงศักดิ์ สมัย โบราณ ปัจจุบัน ใช้เป็น เครื่อง แต่งกาย ชุด กลางคืน ที่ หรูหรา หรือ เจ้าสาว ใช้ใน งาน ฉลอง สมรส ยามค่ำ เครื่อง ประดับ ที่ใช้ รัดเกล้า ต่างหู สร้อยคอ สังวาลย์ สร้อยข้อมือ

spd_20080311164353_b

 

7.ชุดไทยดุสิต

ชุดไทยดุสิต คือ ชุดไทยคอกว้าง ไม่มีแขนใช้ในงานกลางคืนแทนชุดราตรีแบบตะวันตก ตัวเสื้ออาจปักหรือตกแต่งให้เหมาะสม กับงานกลางคืน ตัวเสื้ออาจเย็บติดหรือแยกคนละท่อนกับซิ่นก็ได้ ซิ่นใช้ผ้ายกเงินหรือทองจีบชายพก ผู้แต่งอาจใช้เครื่องประดับแบบไทยหรือตะวันตกตามควรแก่โอกาส

เสื้อ คอกลม กว้าง ไม่มีแขน เข้ารูป ปักแต่ง ลายไทย ด้วย ลูกปัด ใช้กับ ผ้าซิ่น ไหม ยกดิ้น ทอง ลาย ดอกพิกุล ตัดแบบ หน้านาง มี ชายพก ใช้ใน งาน ราตรี สโมสร หรือ เป็นชุด ฉลอง สมรส เครื่อง ประดับ ที่ใช้ ต่างหู สร้อยคอ แหวน

 

 

thainiyom-12

8.ชุดไทยศิวาลัย

เสื้อตัวในไม่มีแขน ไม่มีคอ ห่มทับด้วยสไบ แบบมีชายเดียว ทิ้งชายสไบยาวด้านหลัง ปักด้วยลูกปัดทอง นุ่งทับด้วยผ้าซิ่นไหม ยกดิ้นทอง ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด เครื่องประดับ สร้อยคอ รัดแขน สร้อยข้อมือ เป็นเครื่องแต่งกาย ของสตรี บรรดาศักดิ์ ปัจจุบันใช้ในงาน เลี้ยงฉลอง สมรส หรือเลี้ยงอาหารค่ำ

ชุดไทยศิวาลัย มีลักษณะเหมือนชุดไทยบรมพิมานแต่ว่า ห่มสไบ ปักทับเสื้ออีกชั้นหนึ่งใช้ในงานพระราชพิธี หรืองานพิธีเต็มยศเหมาะแก่การใช้แต่งช่วงที่มีอากาศเย็น

thainiyom-7

 

       นอกจากนี้ยังมีชุดไทยประยุกต์  ชุดไทยประยุกต์  เป็นชุดที่ดัดแปลง มาจากชุดไทยจักรี ตัวเสื้อตัวใน ตัดแบบแขนนางชี จับเดรฟ ทิ้งชายยาว ตัวเสื้อติดกับ ผ้าซิ่นยกดอก ลายไทย ตัดแบบหน้านาง มีชายพก คาดเข็มขัด เครื่องประดับพองาม นิยมมาก ในงาน ราตรีสโมสร หรือ เลี้ยงฉลอง สมรส

spd_20110113130139_b

มารยาทการไหว้ ไหว้แบบไทย

 

untitled

           “การไหว้”  เป็นภาษาท่าทางที่ใช้แสดงความเคารพ ทักทาย โดยการยกมือสองข้างประนม พร้อมกับยกขึ้นไหว้ในระดับต่างๆ นอกจากนี้ยังแสดงออกถึงความหมายของ การขอบคุณ การขอโทษ การยกย่อง การระลึกถึง และอีกหลายความหมายสุดแท้แต่โอกาส  การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นวัฒนธรรมที่งดงาม รวมทั้งเป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทย

การไหว้แบบไทยนั้น มี 3 แบบ ตามระดับของบุคคล

– ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือแล้วยกขึ้น พร้อมกับค้อมศีรษะลง ให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก

ไหว้พระ

 

– ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ โดยประนมมือ แล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลง ให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว

ไหว้ผู้อาวุโส

 

– ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก

สำหรับ หญิงการไหว้ทั้ง 3 ระดับ อาจจะถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัดไปข้างหลังครึ่งก้าว แล้วย่อเข่าลงพอสมควรพร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ก็ได้

ในกรณีบุคลลเสมอกัน ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย หัวแม่มือจรดที่ปลายคาง นิ้วชี้แตะที่จมูก ค้อมหลังพอประมาณ

default_sawasdee4

 วัฒนธรรมการไหว้นี้ปัจจุบันกำลังเลือนหายและถูกละเลยอย่างน่าเสียดาย ประเทศไทยซึ่งเคยได้ชื่อว่ามีวัฒนธรรมที่งดงามเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้ม ที่ผู้คนรู้จักไปทั่วโลก กำลังสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไป ทั้งที่การไหว้เป็นมารยาทแบบไทยๆ ที่เราคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็ก

 

 

 

ลักษณะของวัฒนธรรมไทย

ลักษณะของวัฒนธรรมไทย
ความหมายของวัฒนธรรมมีหลายอย่าง  เช่น  หมายถึงขนบธรรมเนียมประเพณี  สิ่งที่ดีงาม  สิ่งที่ได้รับการปรุงแต่งให้ดีแล้ว  หรือสิ่งที่ได้รับการยอมรับและยกย่องมาเป็นเวลานานแล้ว  เช่น  ค่านิยม  ความคิดเห็น  วิทยาการต่าง ๆ เป็นต้น
วัฒนธรรมไทยในแต่ละท้องถิ่น  จะมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ และยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ทั้งนี้เป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม  เศรษฐกิจ  การเมืองการปกครอง  และการดำเนินชีวิตของคนไทยอยู่ตลอดเวลา
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่สืบสานต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน  มีวัฒนธรรมหลักที่ถือว่า  เป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทย  และแสดงให้เห็นถึงความเป็นไทย  ได้แก่
1.  ศาสนา  คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา  แต่ก็มิได้กีดกันผู้ที่นับถือศาสนาอื่นแต่อย่างใด
2.  ภาษา  คนไทยมีภาษาและตัวอักษรไทย  ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1826
3.  ประเพณีไทย  เป็นสิ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่เคยปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ  และได้สืบทอดกันมาจนถึงลูกหลาน  ที่เรียกกันว่าขนบธรรมเนียมประเพณีนั่นเอง  เช่น  การไหว้  การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ  เป็นต้น

 

culture03

     สังคมไทยประกอบด้วยผู้คนหลายเชื้อชาติ  ศาสนา  และสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ในแต่ละท้องถิ่นก็มีความแตกต่างกันออกไป  วัฒนธรรมของผู้คนจึงมีความแตกต่างกันออกไปในระดับต่าง ๆ ดังนี้
   1)  วัฒนธรรมในระดับภูมิภาคของสังคมไทย  แบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์  เป็น 4 ภาคใหญ่ ๆ ได้  ดังนี้
(1)  วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคเหนือ  เป็นภูมิภาคที่มีเอกลักษณ์ที่มีความโดดเด่นในด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นของตน  เช่น  ประเพณีตานก๋วยสลาก  ประเพณีปอยหลวง  การกินขันโตก  พิธีสืบชะตาเมือง  เป็นต้น
(2)  วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  (ภาคอีสาน)  เป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมที่เก่าแก่  มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญ  เช่น  ประเพณีบุญบั้งไฟ  ประเพณีไหลเรือไฟ  ประเพณีผีตาโขน  ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและหมอลำ  เป็นต้น
(3)  วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง  เนื่องจากอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  จึงมีชีวิตผูกพันอยู่กับการเกษตรเป็นส่วนใหญ่  และมีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญ  เช่น  ประเพณีทำขวัญข้าว  การบูชาแม่โพสพ  การลงแขกเกี่ยวข้าวและลำตัด  เป็นต้น
(4)  วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้  ประชากรมีความแตกต่างกันทางด้านศาสนาเป็นกลุ่ม ๆ มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมประเพณี  จึงมีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะภาค  เช่น  ประเพณีการชักพระ  ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ  การเต้นรองเง็ง  หนังตะลุง  และรำมโนราห์  เป็นต้น
  2)  วัฒนธรรมพื้นบ้านของสังคมไทย

 

G9131190-27

วัฒนธรรมพื้นบ้านเป็นวิถีชีวิตการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน  ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะสืบทอดกันมาด้วยการพูดจา  บอกเล่า  สั่งสอน  หรือทำให้ดูเป็นตัวอย่างเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันและการรวมกลุ่ม  รวมพลังกันทำกิจกรรมต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันตามความเชื่อนั้น ๆ สามารถอธิบายได้ 4 ประเภท  ได้แก่
(1)  มุขปาฐะต่าง ๆ เช่น  ตำนานหรือนิทานพื้นบ้าน  สุภาษิต  ที่ถือเป็นคติสอนใจการดำเนินชีวิต  คำพังเพย  ปริศนาคำทาย  เพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ  ซึ่งมักจะเป็นเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น
(2)  ความเชื่อ  ประเพณี  และพิธีกรรม  ความเชื่อมีทั้งความเชื่อดั้งเดิมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา  เช่น  การนับถือผี  เป็นต้น  และความเชื่อที่มีเหตุผลตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา  ปัจจุบันมักเป็นแบบผสมผสานร่วมกัน
(3)  หัตถกรรมพื้นบ้าน  เป็นงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์หรือประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันจากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน  ในแต่ละท้องถิ่นย่อมแตกต่างกันไป  ทั้งด้านการใช้วัสดุ  เทคนิคและการถ่ายทอดสืบต่อกัน  เช่น  งานจักสาน  งานถักทอ  งานปั้น  งานแกะสลัก  และงานวาดภาพ  เป็นต้น
(4)  ภาษาไทยพื้นบ้าน  คนไทยทุกภาคส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยเป็นปกติ  แต่มีสำเนียงและการใช้คำแตกต่างกันมากน้อยแต่ละท้องถิ่น  ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมใกล้เคียงด้วย  ภาษาไทยพื้นบ้านที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มท้องถิ่นต่าง ๆ ได้แก่  ภาษาล้านนา  ภาษาไทยใหญ่  ภาษาไทยอีสาน  ภาษาไทยภูเขา  เป็นต้น
วัฒนธรรมในระดับภูมิภาคและพื้นบ้านของไทยมีความสำคัญที่ชาวไทยทุกคนควรช่วยกันฟื้นฟู  ปรับปรุง  ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาของประเทศชาติ  เพื่อเป็นเอกลักษณ์คู่กับชาติไทยสืบไป
วัฒนธรรมมาจากการสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ  ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ ดังนั้นเราจึงไม่ควรดูถูกวัฒนธรรมของชาติอื่น

 

“วัฒนธรรมการบวช”

 

ดาวน์โหลด

           วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม รวมถึงความดีความทั้งหลายในสังคมไทย ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากพระพุทธศาสนา พลเมืองของสยามประเทศ หรือประเทศไทยยังคงรับอิทธิพล ของวัฒนธรรมอื่นเข้ามาอย่างไม่ขาดหาย  การบวชเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ถือสืบกันมาอย่างยาวนานพร้อมๆ กับการเข้ามาของพระพุทธศาสนา เมื่อหลายร้อยปี หลายพันปีล่วงแล้ว และจะดำรงต่อไปที่ประเทศนี้ยังมีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

“บวช” มาจากคำว่า “ปะวะชะ” ในบาลี แปลว่า งดเว้นฉะนั้น ผู้บวช คือ ผู้งดเว้นจากข้าศึกแห่งจิต หรือ การประพฤติพรหมจรรย์ อินเดียสมัยโบราณนั้น จัดระบบชีวิตเป็น ๔ แบบ เรียกว่า อาศรมสี่

 

อาศรมแรก เรียกว่า อาศรมพรหมจารีย์

อาศรมที่สอง เรียกว่า คฤหัสถ์

อาศรมที่สาม เรียกว่า วนะปรัสถ์ หรือวะนะปะระสะถะ

อาศรมที่สี่ เรียกว่า สันยาสี

อาศรมพรหมจารีย์ เป็นการประพฤติตนของเด็ก และวัยรุ่นเป็นวัยแห่งการศึกษา ต้องเป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ สะอาด เชื่อฟังคำสอนของบิดา มารดา ครูอาจารย์ ถ้าประพฤติได้ตามวัฒนธรรมวิถี ชีวิตของความเป็นผู้ใหญ่ก็จะมีคุณค่า เพราะได้วางหลักศีลธรรม คุณธรรม คำสอนของศาสนาไว้อย่างแน่นหนา และสวยงาม กล่าวคือ จะต้องสร้างเยาวชนให้รู้จักสิทธิ และหน้าที่อย่างถูกต้อง โดยมี “วินัย” เป็นแม่บทและแม่แบบ ถึงเวลาที่เราจักต้องสร้างวัฒนธรรม สถาบันกันใหม่ เริ่มตั้งแต่ครอบครัวอีกครั้ง อาศรมคฤหัสถ์ เป็นอาศรมที่เตรียมความพร้อมกับการเผชิญกับโลกอันกว้างใหญ่ เพราะพร้อมจะพบกับปัญหาหลากรูปแบบ อาทิ บ่วง ๓ บ่วง ที่ร้อยรัดมนุษย์ ให้สลัดหลุดได้ยาก คือบ่วง หนึ่ง “ผูกคอ” หมายถึง บุตร ธิดา บ่วงสอง ผูกข้อมือ หมายถึง ภรรยา สามี หรืออีกนัยหนึ่ง คือ กามคุณ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส)

images

บ่วงสาม คือ บ่วงผูกข้อเท้า เป็นทรัพย์สมบัติที่เรามีเราได้ ฉะนั้นการเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน จักต้องประพฤติธรรมด้วย จึงจะทำให้บ่วงที่ร้อยรัดทุเลา หรือไม่ต้องตกเป็นทาสมากนัก เพราะได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ อาศรมวนปรัสถ์ บุคคลที่ทำหน้าที่ วนปรัสถ์ได้เพราะเรียนรู้วัฒนธรรม คุณธรรม ของสังคมจนเพียงพอแล้ว รู้สึกตัวเองว่าน่าจะทำคุณประโยชน์ให้มากกว่าที่เป็นจึงต้องตัดสินใจ จะจากอาศรมคฤหัสถ์มาเป็นครูบาอาจารย์บำเพ็ญ

 

560609-ordination-41_07

 

พรต เพื่อความสุขสมบูรณ์แห่งจิตวิญญาณการเป็นวนปรัสถะ ที่ดีในยุดคก่อนนั้น จะสั่งสอนศิษย์ด้วย การทำให้ดู แสดงให้ดู เพราะการสอนที่ดีนั้น คือ การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

 

อาศรมสันยาสี ในอินเดียโบราณนั้นต้องผ่านคฤหัสถ์ ผ่าน วนปรัสถ์ เกิดความเบื่อ จึงหนีออกจากเรือนเหมือนพระสิทธิธารถะ ออกบวชโดยนำบริขารที่จำเป็น อาทิ ผ้าชุดเดียว ไม้เท้า หม้อน้ำ เป็นต้น ดังนั้น กรเริ่มฝต้นวัฒนะรรมการบวช จึงมีรูปแบบมีกระบวนการที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ได้ไปพบปัญจวัคคีย์ ทรงแสดงธรรมครั้งแรกที่ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน จนพระโกณฑัญญะ บรรลุธรรม การบวชครั้งนี้ เรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสมบท” โดยตรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุ เธอจงปฏิบัติพรหมจรรย์ เพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์เถอะ”

 

การบวช รูปแบบครั้งที่สอง ชื่อว่า “ติสรณคมนูปสัมปทา” คือ ผู้บวชเปล่งวาจา ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ โดยสาวกของพระพุทธเจ้าเป็นผู้บวช จนบางครั้งผู้จะบวชมิได้บวชเพราะอายุมาก “ญัตติจตุตถกรรม” คือ เสนอสวดญัตติ ๔ ครั้ง โดยมีคณะสงฆ์อย่างน้อย ๕ รูป ทำพิธีกรรมสงฆ์ โดยมีรูปแบบที่เป็นวัฒนธรรมองค์กรอาทิ : ถามว่า “อนุญญาโตสีสิ๊ มาตาปิตูหิ : คุณพ่อ คุรแม่ อนุญาตหรือเปล่า ? ” เป็นต้น

ปัจจุบันในพระพุทธศาสนาจึงคงเหลือไว้แต่รูปแบบที่สามเท่านั้น ซึ่งรวมถึงการบวชสามเณร ซึ่ง สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ “ราหุล” เพราะก่อนหน้านั้นพระพุทธเจ้าบวชได้เลย พระเจ้าสุทโธทนะเห็นท่าไม่ได้การณ์จึงทูลขอว่าต้องขออนุญาตจากพ่อ แม่ ก่อนจึงบวชได้ นี่เป็นต้นบัญญัติของการบวชยุคหลังจนปัจจุบัน การบวชปัจจุบันนี้มิได้เกิดจากความศรัทธาตั้งมั่น เสมือนดั่งก่อน แต่เป็นการบวชที่เรามักได้ยินว่า “บวชตามประเพณี บวชหนีสงสาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน บวชเลื่อนทหาร” เป็นต้น

1710

จึงไม่ได้ครบตามวัฒนธรรมการบวชที่มีอรรถะและสาระ แต่ก็ยังนับได้ว่ามีประโยชน์อยู่ไม่น้อย ในวาระแห่ง “พุทธชยันตี” กล่าวคือ การเฉลิมฉลองแห่งชัยชนะของพระพุทะเจ้าครบ ๒๖๐๐ ปี ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันวิสาขบูชาปุรานมีแห่งโลก ครานี้ผู้เขียนได้ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย มีเจตนา เพื่อบูชาพระคุณพ่อ ๔ ท่าน ด้วยกัน คือ คุณบิดา คุณพระมหากษัตริย์ คุณหลวงพ่อปัญญาฯ และคุณพระพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นการบวชตามประเพณี เช่นกัน เพราะฉะนั้นการจะบวชให้ได้ประโยชน์ ต้องถือเอากิจของสงฆ์ที่ควรปฏิบัติตาม “นวโกวาท” มาปฏิบัติให้ครบมากที่สุดมิเช่นนั้นก็จักเสียประโยชน์เสียเวลา เสียคุณค่าแห่งจิตใจมิควรที่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ หรือผู้ถือบวชจักกระทำ เพราะวัฒนธรรมการบวชในพะพุทธศาสนาก็เพื่อศึกษา เพื่อปฏิบัติเพื่อสร้างรากฐานจิตใจให้มั่นคงด้วยคุณงามความดีโยเริ่มที่ความตั้งใจมั่นของผู้บวช ทำได้ดั่งนี้ การบวชจะได้อานิสงส์ คือ บุญ และกุศลคือ ได้ความดี และความรู้ จึงทำให้ประโยชน์ที่เป็นคุณค่าแท้เกิดขึ้น และยังทำหน้าที่เป็นพุทธบริษัทอย่างสมบูรณ์อีกด้วย

 

 

ประเภทของวัฒนธรรมไทย

ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ  พ.ศ.  2485  แบ่งได้ ประเภท
    1. คติธรรม คือ วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำเนินชีวิต  ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของจิตใจซึ่งได้เรียนรู้จากศาสนา เป็นวัฒนธรรมทางด้านศีลธรรม เป็นจารีตประเพณีซึ่งถือเป็นหลักของการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาซึ่งสอนในเรื่องของกรรม โดยสอนให้เชื่อในเหตุและผลความเป็นไปในธรรมชาติ มากกว่าความศรัทธา
125
    2. เนติธรรม  คือ วัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งระเบียบประเพณีที่ยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญ ป็นวัฒนธรรมทางด้านกฎหมาย หรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีความสำคัญเสมอด้วยกฎหมายหรือการกระทำบางอย่างที่ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ แต่ถ้าใครทำเข้าก็เป็นที่รังเกียจของสังคม เช่นพ่อแม่มีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรถ้าพ่อแม่เพิกเฉยละทิ้งหน้าที่ ก็จะถูกกฎหมายลงโทษ แต่เมื่อลูกโตขึ้นไม่เลี้ยงดูพ่อแม่ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย บ้านเมืองจะลงโทษไม่ได้ แต่จะเป็นที่ครหานินทาของสังคม ทั้งนี้เพราะพุทธศาสนาสอนในเรื่องของความกตัญญูต่อบุพการี
1409041647
    3. สหธรรม คือ วัฒนธรรมทางสังคมที่เกี่ยวกับหลักการปฏิบัติทางสังคม  เช่น มารยาทในงานสังคมต่างๆ
175_7442_a58c6a4509cfde1

4. วัตถุธรรม คือ วัฒนธรรมทางวัตถุ  ที่สามารถจับต้องได้สัมผัสได้  เช่น  บ้านเรือน  อาหาร  เครื่องแต่งกาย  เครื่องมือ  เครื่องใช้  และเครื่องอำนวยความสะดวก เป็นต้น

 

วัฒนธรรมของไทย

พระราชบัญญัติ วัฒนธรรมแห่งชาติพุทธศักราช 2485 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2486 ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมไว้ดังนี้

วัฒนธรรม คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน

วัฒนธรรมจึงเป็นลักษณะพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ ทั้งบุคคลและสังคมที่ได้วิวัฒนาการต่อเนื่องมาอย่างมีแบบแผน แต่อย่างไรก็ดีมนุษย์นั้นไม่ได้เกาะกลุ่มอยู่เฉพาะในสังคมของตนเอง ได้มีความสัมพันธ์ติดต่อกับสังคมต่างๆ ซึ่งอาจอยู่ใกล้ชิดมีพรมแดนติดต่อกัน หรือยู่ปะปนในสถานที่เดียวกันหรือ การที่ชนชาติหนึ่งตกอยู่ใต้การปกครองของชนชาติหนึ่ง มนุษย์เป็นผู้รู้จักเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ จึงนำเอาวัฒนธรรมที่เห็นจากได้สัมพันธ์ติดต่อมาใช้โดยอาจรับมาเพิ่มเติมเป็นวัฒนธรรมของตนเองโดยตรงหรือนำเอามาดัดแปลงแก้ไขให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม

ในปัจจุบันนี้จึงไม่มีประเทศชาติใดที่มีวัฒนธรรมบริสุทธิ์อย่างแท้จริง แต่จะมีวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากความรู้ ประสบการณ์ที่สังคมตกทอดมาโดยเฉพาะของสังคมนั้น และจากวัฒนธรรมแหล่งอื่นที่เข้ามาผสมปะปนอยู่ และวัฒนธรรมไทยก็มีแนวทางเช่นนี้

A9481073-4

ความสำคัญของวัฒนธรรม
         วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติ ชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตในด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพิชิตอย่างราบคาบและสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนได้ถูกพิชิต เช่น พวกตาดที่พิชิตจีนได้ และตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นปกครองจีน แต่ในที่สุดถูกชาวจีนซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนจนเป็นชาวจีนไปหมดสิ้น ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า วัฒนธรรมมีความสำคัญดังนี้

  • วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ชี้แสดงให้เห็นความแตกต่างของบุคคล กลุ่มคน หรือชุมชน
  • เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าตนมีความแตกต่างจากสัตว์
  • ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เรามองเห็น การแปลความหมายของสิ่งที่เรามองเห็นนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มชน ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม เช่น ชาวเกาะซามัวมองเห็นดวงจันทร์ว่ามีหญิงกำลังทอผ้า ชาวออสเตรเลียเห็นเป็นตาแมวใหญ่กำลังมองหาเหยื่อ ชาวไทยมองเห็นเหมือนรูปกระต่าย
  • วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดปัจจัย 4 เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย การรักษาโรค
  • วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ และการควบคุมอารมณ์ เช่น ผู้ชายไทยจะไม่ปล่อยให้น้ำตาไหลต่อหน้าสาธารณะชนเมื่อเสียใจ
  • เป็นตัวกำหนดการกระทำบางอย่าง ในชุมชนว่าเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งการกระทำบางอย่างในสังคมหนึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมแต่ไม่เป็นที่ยอมรับในอีกสังคมหนึ่ง

จะเห็นได้ว่าผู้สร้างวัฒนธรรมคือมนุษย์ และสังคมเกิดขึ้นก็เพราะ มนุษย์ วัฒนธรรมกับสังคมจึงเป็นสิ่งคู่กัน โดยแต่ละสังคมย่อมมีวัฒนธรรมและหากสังคมมีขนาดใหญ่หรือมีความซับซ้อน มากเพียงใด ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมักจะมีมากขึ้นเพียงใดนั้นวัฒนธรรมต่าง ๆ ของแต่ละสังคมอาจเหมือนหรือต่างกันสืบเนื่องมาจากความแตกต่างทางด้านความเชื่อ เชื้อชาติ ศาสนาและถิ่นที่อยู่ เป็นต้น